ยินดีต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7


วันพฤหัสบดี ที่13 ธันวาคม พ.ศ.2555

อาจารย์อธิบายการสอนในหัวข้อดังต่อไปนี้
   -มาตรฐาน คือ สิ่งที่เป็นแนวทางในการทำงาน
   -คู่มือ คือ แนวทางในการปฏิบัติ เป็นคำอธิบาย
   -สสวท คือ สถาบันส่งเสริมการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   -คณิตศาตสร์ คือ เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์
    สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย
      สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                   แบบเขียน
                   พูดออกมา
                   หยิบตัวเลขมาวาง
                   สื่อเป็นจำนวนเส้น
      สาระที่ 2 การวัด
                  กาหาค่าโดยใช้เครื่องมือ 
                  -เครื่องมือไม่เป็นทางการ
                  -เครื่องมือกึ่งทางการ
                  -เครื่องมือทางการ
      สาระที่ 3 เรขาคณิต 
      สาระที่ 4 พีชคณิต
                 - ทำตามแบบ 
                  -เซต
      สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      สาระที่ 6 ทักษะและกระบานการทางคณิตศาสตร์
ในการจัดการเรียนการสอนควรดูพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญเพื่อที่จะดูว่าเด็กแต่ละช่วงวัยทำอะไรได้บ้าง
      อาจารย์ให้นักศึกษาทำหน่วยการเรียนรู้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่ๆให้เล็กลงอาจารย์ยกตัวอย่างหน่วย
     อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ให้เขียนหน่วยการสอนที่จะสอนใน1สัปดาห์โดยในรูปแบบของแมบปิ้ง กลุ่มของดิฉันได้หน่วยธรรมชาติ นำเสนอเรื่องของทะเลมีดังนี้
            ประเภท
            ลักษณะ 
            สี
            ประโยชน์
            โทษ
            ข้อควรระวัง

วันที่13/3
กลุ่มของดิฉันร่วมกันเเสดงความคิด โดยนาวสาว สุปรียา เป็นผู้เขียน MindMap

วันที่13/5
กลุ่มของดิฉันร่วมกันทำ MindMap เสร็จอย่างสมบูรณ์



วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่6 ธันวาคม พ.ศ.2555

 

      วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องกระดาษมา
       อาจารย์ก็ถามว่า กล่อง1กล่องสามารถสอนคณิตศาสตร์อะไรให้กับเด็กได้บ้าง
         - กล่อง1 กล่อง สามารถสอน
               เรื่อง รูปทรง ขนาด พื้นที่ผิว การนับ การจับคู่ขนาดของกกล่อง การเปรียบเทียบขนาดของกล่อง เป็นต้น
      วันนี้อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ  10 คน    มีทั้งหมด  4 กลุ่ม  และกลุ่มของดิฉัน
กลุ่มที่3 อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อเรื่องให้ว่า
       ให้นักศึกษาวางกล่องเป็นรูปแบบไหนก็ได้ตามใจชอบของกลุ่มตัวเอง และกลุ่มของดิฉันวางกล่องเป็นรูปแบบตามใจของกลุ่มผลสรุปออกมาว่า กลุ่มของดิฉันได้วางกล่องเป็นรูป หุ่นยนต์ และตั้งชื่อว่าโลโบ้
กลุ่มที่ 1 ประกอบเป็นรูปเรือ ชื่อว่าเรือขุดเจาะปิโตรเลียม 
กลุ่มที่ 2 ประกอบเป็นรูปเรือ ชื่อว่าเเท็คเตอร์ 2012
กลุ่มที่ 3 ประกอบเป็นรูปหุ่นยนต์ ชื่อว่า โลโบ้
กลุ่มที่ 4 ประกอบเป็นรูปหนอน
      แล้วให้แต่ละกลุ่มอธิบายถึงความคิดริเริ่มว่าทำไมถึงทำขึ้นมาแล้วถึงได้เป็นรูปทรงแบบนี้ เอากล่องอันไหนมาเรียงไว้ก่อนหลัง
2
สมาชิกกลุ่มที่3 ช่วนกันนำกล่องมาต่อเป็นรูปร่าง ว่าจะออกเเบบมาเป็นรูปอะไร
4
สมาชิกในกลุ่มที่3 ร่วมมือกันต่อเจ้าโลโบ้ขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ สวยงามที่สุด
        ในการประดิษฐ์ผลงานจากกล่องก็จะสามารถสอนเด็กในเรื่องของ ตำแหน่ง รูปทรง จำนวน เรื่องของทิศทาง การเรียงลำดับ และได้รู้จักการแก้ไขปัญหาทำงานเป็นกลุ่ม

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วัน พฤหัสบดี ที่29 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
         สัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาทำงานเป็นคู่ว่า ให้นักศึกษาจัดหน่วยการเรียนการสอนให้กับเด็กใน เรื่องของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยที่คู่ของดิฉันได้หัวข้อเรื่อง ผลไม้
  
      อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามที่แต่ละคู่ได้รับมอบหมายเป็นข้อๆ ดังนี้


หน่วยสัตว์

   หัวข้อเรื่องที่นำเสนอคือ  หน่วยสัตว์
             - กลุ่มที่ 1 เรื่องของการนับ จะสอนเด็กให้รู้จักการนับจำนวนสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ ว่า สัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์มีทั้งหมดกี่ตัว
              -กลุ่มที่ 2 เรื่องของตัวเลข คือ การแทนค่าจำนวนของ จำนวนสัตว์ที่มีอยู่ในสวนสัตว์
              -กลุ่มที่ 3 เรื่องของการจับคู่  เป็นการจับคู่ของจำนวนสัตว์บกและสัตว์น้ำว่ามีกี่คู่
             - กลุ่มที่ 4 เรื่องของการจัดประเภท คือ ต้องมีเกณฑ์ในการแยกประเภทโดยที่จะแบ่งสัตว์เป็น2 กลุ่ม โดยมีเกณฑ์ว่า สัตว์บกกับสัตว์น้ำ
             - กลุ่มที่ 5 เรื่องของการเปรียบเทียบ  การเปรียบเทียบระหว่างสัตว์บกกับสัตว์ที่ไม่ใช้สัตว์ว่า สัตว์ชนิดไหนมีจำนวนมากกว่า
             - กลุ่มที่ 6 เรื่องของการจัดลำดับ การวัดส่วนสูงของสัตว์แล้วเรียงจากน้อยไปหามาก
             - กลุ่มที่ 7 เรื่องของรูปทรงและเนื้อที่  รูปทรงและเนื้อที่ตามที่อยู่อาศัยของสัตว์ เช่นที่อยู่ของช้าง ก็จะต้องไปรูปสี่เหลี่ยม
              -กลุ่มที่ 8 เรื่องของการวัด  ในเรื่องของการให้อาหารสัตว์จะต้องมีการชั่งให้มีปริมาณเท่ากัน
             - กลุ่มที่ 9 เรื่องของ เซต  ในเรื่องของการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มคือ สัตว์กินพืชกับสัตว์ไม่กินพืช
             - กลุ่มที่ 10 เรื่องของเศษส่วน  เรื่องของการแบ่งจำนวนของสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆกัน
              -กลุ่มที่ 11 เรื่องของทำตามแบบหรือลวดลาย  ในเรื่องของการเรียงลำดับรูปของสัตว์ แล้วให้เด็กทำกิจกรรมในเรื่องของการเรียงลำดับรูปตามแบบที่ครู เรียงไว้
            - กลุ่มที่ 12 เรื่องของการอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  การเทปูนพลาสเตอร์ลงในแม่พิมพ์ในปริมาณเท่าๆกัน
        หัวข้อที่2.หน่วยผัก
หน่วยผัก
              -กลุ่มที่1การนับ = นับจำนวนผักในตะกร้าว่ามีกี่ชนิด จำนวนเท่าไร
              -กลุ่มที่2ตัวเลข = นับจำนวนผัก
              -กลุ่มที่3การจับคู่ = นับจำนวนผัก แยกประเภท และจับคู่ผัก
              -กลุ่มที่ 4การแยกประเภท = แยกประเภทผักใบเขียวออกจากผักที่ไม่มีใบเขียว
              -กลุ่มที่5การเปรียบเทียบ = เปรียบเทียบขนาด รูปทรง รูปร่าง จำนวน ของผักในตะกร้า
              -กลุ่มที่6การจัดลำดับ = จัดลำดับความยาว ความสั้นของผักในตะกร้า
              -กลุ่มที่7รูปทรงและเนื้อที่ = เอาแครอทใส่ตะกร้าทรงสี่เหลี่ยมว่าใส่ได้จำนวนกี่อัน
งานที่ได้รับมอบหมาย
     อาทิตย์หน้าให้นักศึกษานำกล่องมาคนละหนึ่งใบ


วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่22 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

อาจารย์อธิบายเรื่องขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย



อาจารย์อธิบาย การสอนในหัวข้อ ดังต่อไปนี้
            เรื่อง การนับ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ ของเลขคณิตศาสตร์
            เริ่มแรกอาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาวาดภาพตามใจชอบ
           ผลของการวาดภาพ คือ
                  การจัดกลุ่มว่าใครมาก่อน 8:30 .
                  หลัง 8:30 . บ้างแปลทางคณิตศาสตร์ คือ การแบ่งกลุ่ม


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย (นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)

    1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
     2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
     3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
     4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
    5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
    6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
    7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
   8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
   9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
   10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?
   11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
   12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 

งานที่ได้รับมอบหมาย
    -อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน ทำงาน ถ้าจะสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กจะทำอย่างไร โดยให้นักศึกษาดูในขอบข่ายที่อาจารย์สอน ดิฉันคู่กับ นางสาว สุปรียา ขวัญพร้อม


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่3

 วันพฤหัสบดี ที่15 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

      -อาจารย์ให้นักษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3คน ให้เปลี่ยนกันอ่านความหมายของเพื่อนในกลุ่มที่หามา แล้วนำมาสรุปเป็นนิยามของกลุ่มตัวเอง

อาจารย์ให้นักศึกษาเเบ่งกลุ่ม อธิบายงานให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียด





ดิฉัน สมาชิกในกลุ่มของดิฉันร่วมกัน สรุปนิยามกลุ่มของดิฉันขึ้นมาทุกคนร่วมกันทำงานอย่างตั้งใจ



       อาจารย์ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มของตัวเองเเละนำความหมายทางคณิตศาสตร์ของแต่ละคนมารวมกัน แล้วนำมาสรุปเป็นนิยามของกลุ่มตัวเอง
    สมาชิกในกลุ่มมีดังนี้
          1.นางสาว ปนัฐดา ประยุทธเต    
          2.นางสาว สุปรียา  ขวัญพร้อม
          3.นางสาว ปัทมาภรณ์ วิทูร 
            4.นางสาว ประภาพร  เปลาเล  
    กลุ่มของดิฉันสรุปความหมายทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
        ความหมายของคณิตศาสตร์
       คณิตศาสตร์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการใช้ตัวเลข การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีโครงสร้างเพื่อมุ่งเน้นไปที่การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
       จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาตร์
      
      การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการคิด การนับการคำนวณ และการตัดสินใจ ที่สามารถนำไปใช่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม
      
      ทฤษฎีการสอนคณิตศาตร์หรือวิธีการสอนคณิตศาตร์
     
            -ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน ทษฤฎีนี้เชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้ทางคณิตศาตร์ได้จากการลงมือกระทำซ้ำๆหลายๆครั้ง หรือกระทำบ่อยๆ
            -ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ดีเมื่อเด็กเกิดความพร้อม
            -ทฤษฎีแห่งความหมาย เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดี เมื่อเด็กได้เรียนรู้ต่อสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
            -ทฤษฎีเชื่อมโยง
           - ทฤษฎีเสริมแรง
            -ทฤษฎีฝึกสมอง
            -ทฤษฎีการสรุป
            -ทฤษฎีการหยั่งรู้
            -ทฤษฎีการผ่อนคลาย
            -ทฤษฎีการสอนแบบธรรมชาติ











วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่2

วันพฤหัสบดี ที่8 พฤศจิกายน พ.ศ.2555







อาจารย์อธิบายการจัดหมวดหมู่เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์

อาจารย์อธิบายการสอน
เรื่องการจัดหมวดหมู่เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์
    วิธีแบ่งกลุ่ม
    วิธีจับฉลาก
    การนับหนึ่งสองไปเรื่อยๆในการแบ่งกลุ่ม
    แบ่งกลุ่มตามวันเกิด
    เกรณ์ผมสั้น-ผมยาว ต้องกำหนดแค่ไหนเรียกว่ายาวแค่ไหนเรียกว่าสั้น
              
          -ให้บอกสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวว่าอันไหนเป็นคณิตศาตร์ เช่น
                 -หลอดไฟ มีรูปทรงเป็นรูปทรงกระบอก
                 -ประตุหน้าต่าง รูปร่างรูปทรง
                 -กระเป๋า   รูปร่าง รูปทรง จำนวน พื้นผิว
 
       อาจารย์อธิบายถึงรูปทรง คือสิ่งที่เห็นเป็นมิติ
           -การนับจำนวน คือการทำให้รู้ค่า เขียนตัวเลขแทนค่า ขนาด เปรียบเทียบ คำนาน 
           -การสอนเด็กให้รู้จักคณิตศาสตร์ต้องมีสื่อที่เป็นมิติจับต้องได้ เด็กเข้าใจแล้วจากนั้นเริ่มถอยออกมาใช่ภาพแทนสื่อที่เป็นสามมิติ
                   เด็กอายุ 4-6 ปี เริ่มใช่เหตุผลในการเรียน เริ่มคิดตอบอะไรได้อย่างมีเหตุผล
                             เช่น น้ำในแก้วทรงสูงและแก้วทรงเตี้ย ถ้าเด็กตอบไม่ถูกแสดงว่าเด็กตอบตามที่ตาเห็น แต่ถ้าเด็กตอบถูกเด็กรู้จักใช่เหตุผลในการคิด
           -ตัวเลขคือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แทนค่าหรือแทนจำนวน
 
 
งานที่ได้รับมอบหมาย
-อาจารย์แจกกระดาษA4  สั่งงานให้ไปห้องสมุดไปดูหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์จากนั้นให้นักศึกษาศึกษาหา
     ชื่อหนังสือ
     เลขหมู่
     ชื่อผู้เขียน
     จำนวนหน้า
     ปีพ.ศ.
   จากนั้นให้นักศึกษาเลือกมาหนึ่งเล่ม แล้วหาความหมาย จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอนหรือวิธีการสอนคณิตศาสตร์ และขอบข่ายเนื้อหาคณิตศาตร์ ให้เขียนลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้ แล้วส่งในสัปดาห์ต่อไป


วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่1 พฤศจิกายน พ.ศ.2555


                         วันนี้เป็นวันเปิดภาคเรียนของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เป็นวันแรก คาบแรก ที่ได้พบกับอาจารย์จินตนา สุขสำราญ  
                          อาจารย์ได้สร้างข้อตกลงกับนักศึกษา ว่า  
                                 1. เรื่องของการเข้าเรียน ห้ามนักศึกษาทุกคนเข้าเรียนเกิน 9 โมงเช้า 
                                 2. เรื่องของการแต่งกาย

                   อาจารย์จ๋าให้นักศึกษาทำกิจกรรมในห้องเรียน โดยที่อาจารย์จะแจกกระดาษ A4  ให้นักศึกษาคนละ1แผ่น แล้วให้เขียนชื่อ นามสกุล และวันที่ให้เรียบร้อย หลังจากนั้น อาจารย์ก็ได้ตั้งคำถามถามว่า
              ให้นักศึกษาเขียนความเข้าใจของนักศึกษาว่า คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร ให้นักศึกษาเขียนมาคนละ 2 ประโยค
               ดิฉันก็ได้เขียนไว้ว่า
                 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ฝึกในเรื่องของตัวเลข การคิด เเละสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้กับตัวของเด็กได้อย่างถูกต้อง สามารถฝึกการคิดเลขที่ถูกวิธี เรียนรู้รูปทรงต่าง ฝึกในเรื่องของการสังเกต คิดได้รวดเร็ว ถูกวิธี 
               
                 และอาจารย์ก็ได้ถามคำถามอีกว่า ในการเรียนวิชานี้ตั้งเป้าหมายในการเรียนไว้อย่างไร
              ดิฉันได้เขียนไว้ว่า  เรียนรู้ช่วงชั้นอายุของเด็กกับการพัฒนาการทางความคิด
ได้ลงมือปฎิบัติในการทำกิจกรรมกับเด็ก ทำการเรียนมาใช้ในการสอนเด็กที่ถูกวิธี สอนในเรื่องของการคิดเลข 

                 อาจารย์กได้อธิบายรายวิชาว่า การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรที่จะรู้อะไรบ้าง  
                             สิ่งที่ควรรู้ในวิชานี้คือ
                                        -  การจัดประสบการณ์
                                        -  คณิตศาสตร์
                                        -  เด็กปฐมวัย  
                  
                  อาจารย์ได้ถามนักศึกษาว่า เด็กปฐมวัยควร รู้อะไรบ้าง
                        
                             สิ่งที่ควรรู้คือ พัฒนาการของเด็ก 

                                          -  พัฒนาการของเด็ก มีทั้ง 4 ด้าน แต่ในรายวิชานี้ จะเน้นเรื่องของ พัฒนาการด้านสติปัญญา
                                           -  อาจารย์ใช้ทฤษฎีของเพียเจต์ ในเรื่องของสติปัญญา มาเป็นแนวทางการสอน และก็ได้รู้ว่าเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 2 ปี จะเรียนรู้จากการหาประสบการณ์สิ่งรอบตัวจากประสาทสัมผัสทั้ง ห้า                   
                    -  เด็กอายุ2-4 ปี  จะมีการรับรู้ผ่านวิธีการเรียนรู้ต่างๆ
                    -  เด็กอายุ4-6 ปี   จะมีการส่งให้สมองรับรู้โดยสมองมีการรับรู้นั้นอยู่แล้ว

              พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น พลิกตัว คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง 

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ:นางสาวประภาพร เปลาเล          ชื่อเล่น:โบว์       อายุ 19  ปี
เกิด: วันเสาร์ ที่ 3 เมษายน 2536        ปีระกา              กรุ๊ปเลือด : โอ
ปัจจุบัน กำลังศึกษาปริญญาตรีต่อที่:
        มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เลขที่ 39/1  ถ. รัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม
เขตจตุจักร       กรุงเทพมหานคร   10900
         คณะศึกษาศาสตร์  สาขาวิชาเอก การศึกษาปฐมวัย  ชั้นปีที่ 2
ภูมิลำเนา
       60/1  หมู่ 2  ต.ดอนกระเบื้อง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี  70120

ที่อยู่ปัจจุบัน:
            48/5  ลาดพร้าวอพาร์ทเม้น  ซอย.ลาดพร้าว48 แขวงสามเสนนอก  เขตห้วยขวาง
 กรุงเทพมหานคร   10310
สีที่ชอบ: สีชมพู, สีเหลือง, สีเขียว
ตุ๊กตาสุดโปรด:  (Winnie the Pooh) หมีพู
กิจกรรมที่ชอบ: ร้องเพลงลูกทุ่ง